สายตาสั้น เกิดจากอะไร ป้องกันได้อย่างไร

เกิดมาสายตาปกติ แล้วทำไมถึงสายตาสั้นได้?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมตอนเด็ก ๆ เราสายตาปกติ แต่พอโตขึ้นกลับมองอะไรไกล ๆ ไม่ชัด? บางคนอาจมองว่ามาจากเล่นมือถือหรือจ้องคอมใกล้เกินไป แบบที่ผู้ใหญ่เตือน แล้วมันเป็นแบบนั้นจริงหรือเปล่านะ? ถ้าเราเข้าใจสาเหตุจะช่วยป้องกันสายตาสั้นได้ไหม? มาหาคำตอบไปพร้อมกันค่ะ

 

ดวงตาของเรา…เหมือนกล้องถ่ายรูป

ก่อนจะไปรู้ว่าสายตาสั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เรามาเริ่มต้นจากการรู้จักโครงสร้างของดวงตากันก่อนค่ะ โดยจะเทียบกับกล้องถ่ายรูป จะได้ช่วยทำให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายขึ้น 

กระจกตา (Cornea) เปรียบเสมือน “หน้าเลนส์” ของกล้อง เป็นชั้นใสที่อยู่ด้านหน้าสุดของตา มีหน้าที่ช่วยให้แสงผ่านเข้ามา และเริ่มโฟกัสภาพ

เลนส์ตา (Lens) หรือ เลนส์ตา อยู่ถัดเข้ามาข้างใน มีหน้าที่ปรับโฟกัสแสงให้ตกลงบนจุดที่เหมาะสม

ม่านตา (Iris) ส่วนนี้คือ “ตัวควบคุมแสง” ของดวงตา มีสีที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน เช่น สีดำหรือน้ำตาล และมีรูตรงกลางที่เรียกว่า รูม่านตา (Pupil) ซึ่งคอยควบคุมปริมาณแสงที่เข้าสู่ตา

จอประสาทตา (Retina) เปรียบได้กับ “เซนเซอร์รับภาพ” ของกล้อง อยู่ด้านหลังของตาและทำหน้าที่รับภาพที่แสงส่งมา แล้วส่งต่อข้อมูลไปยังสมองเพื่อแปลผลเป็นสิ่งที่เรามองเห็น

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการ "สายตาสั้น"

  1. กรรมพันธุ์ ถ้าพ่อแม่สายตาสั้น เราก็มีโอกาสสั้นตามไปด้วย เพราะลักษณะโครงสร้างตาบางอย่างสามารถถ่ายทอดได้
  2. พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน อย่างที่ผู้ใหญ่บอก การจ้องมือถือ หรืออ่านหนังสือใกล้เกินไปเป็นเวลานาน เป็นหนึ่งในตัวการสำคัญเลยที่เพิ่มสายตาสั้น เพราะมันทำให้ดวงตาทำงานหนักกว่าปกติ
  3. แสงไม่เหมาะสม เช่น อ่านหนังสือในที่แสงน้อย หรือจ้องจอในที่ที่แสงจ้าเกินไป ก็ทำให้ตาเราล้าจนส่งผลต่อสายตาได้

 

นอกจากมองไม่ชัด…ยังมีอาการอื่นอีก

พอเราเริ่มสายตาสั้น สิ่งที่ตามมานั้นไม่ใช่แค่เพียงการมองไกลไม่ชัดเจน แต่บางครั้งก็มีอาการอื่น ๆ ที่เราไม่เคยคิดว่าเกี่ยวข้องด้วย เหมือนเป็น Side-effect เล็ก ๆ แต่เป็ยอาการสะสม ยกตัวอย่างเช่น

  • ปวดหัว หลังจากเพ่งหน้าจอนาน ๆ หรือพยายามมองสิ่งที่อยู่ไกลออกไป
  • ตาล้า โดยเฉพาะเวลาทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน
  • ต้องหรี่ตาเพื่อมองให้ชัดขึ้น ซึ่งมันเป็นอะไรที่เราทำจนไม่รู้ตัว
  • มองในที่มืดได้แย่ลง เหมือนตอนขับรถกลางคืนแล้วรู้สึกว่ามันยากขึ้น

ที่แย่กว่านั้นคือบางครั้งเราต้อง ยกหนังสือหรือโทรศัพท์เข้ามาใกล้ดวงตามาขึ้น เพื่อให้มองเห็นได้ชัด ซึ่งพอทำแบบนี้บ่อย ๆ ไม่ใช่แค่ล้าสายตา แต่ยังรู้สึกแสบตา และบางทีน้ำตาก็ไหลเองเพราะตาทำงานหนักเกินไป

 

ป้องกันสายตาสั้นอย่างไร?

พอรู้ปัจจัยแล้ว เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อไม่ให้สายตาแย่ลงไปอีก? ลองปรับพฤติกรรมตามนี้ดูนะคะ ช่วยได้อย่างแน่นอน

  1. พักสายตาแบบง่าย ๆ ด้วยกฎ 20-20-20 คือ ทุกครั้งที่ใช้สายตานาน ๆ อย่างน้อยทุก 20 นาที ให้พักมองไปไกล ๆ ประมาณ 20 ฟุต (6 เมตร) นาน 20 วินาที แค่นี้ก็ช่วยให้ตาไม่ล้าแล้ว
  2. จัดระยะห่างให้เหมาะสม ตอนนี้เราเริ่มระวังเวลานั่งจ้องจอหรืออ่านหนังสือ พยายามให้อยู่ในระยะประมาณ 30-40 ซม. ไม่ใกล้เกินไป
  3. ออกไปข้างนอกบ้าง นอกจากจะช่วยพักสายตาจากจอแล้ว การออกไปเดินเล่นกลางแจ้งยังทำให้ตาได้รับแสงธรรมชาติ อีกทั้งยังมีงานวิจัยหลายตัว พบว่าแสงธรรมชาติช่วยกระตุ้นกระบวนการควบคุมการเติบโตของลูกตาให้เป็นปกติ โดยเฉพาะในชั้นจอประสาทตา (Retina) ซึ่งการสัมผัสแสงที่เหมาะสมช่วยป้องกันไม่ให้ลูกตายาวเกินไปค่ะ
  4. แสงต้องเหมาะสม เราพยายามปรับแสงในที่ทำงานหรือที่อ่านหนังสือให้พอดี ไม่มืดหรือสว่างเกินไป เพื่อให้ตาไม่ต้องทำงานหนัก
  5. ตรวจสายตาเป็นประจำ เป็นสิ่งสำคัญมาก บางทีเราอาจไม่รู้ว่าตัวเองสายตาเริ่มเปลี่ยนแล้ว การไปตรวจเช็กกับจักษุแพทย์ช่วยให้รู้เร็วและป้องกันได้ทัน

 

การป้องกันสายตาสั้นอาจดูเหมือนเรื่องเล็ก ๆ แต่เพียงแค่ปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงและดูแลดวงตาของเราให้แข็งแรงไปได้อีกนาน ดังนั้นหากใครเริ่มสังเกตว่ามีอาการมองไม่ชัด ตาพร่ามัว ขอแนะนำว่าอย่าปล่อยทิ้งไว้ รีบตรวจและแก้ไขแต่เนิ่น ๆ เพราะการตรวจพบปัญหาเร็วช่วยให้การดูแลรักษาทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สุขภาพตาก็เหมือนโรคอื่น ๆ ยิ่งรู้ตัวเร็ว โอกาสป้องกันและรักษาก็จะเพิ่มมากขึ้น

 

 

LASIK SUPER Center เรามีเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย พร้อมตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาค่าสายตา ไม่ว่าจะเป็น Lasik PresbyMax หรือ SmartSight นวัตกรรมล่าสุดสำหรับการแก้ไขสายตาด้วยความปลอดภัยสูง

สามารถเข้ามาปรึกษาเราได้ที่ โรงพยาบาลพญาไท 3, โรงพยาบาลกรุงเทพ-พัทยา, โรงพยาบาลวิภาวดี หรือ ติดต่อช่องทางออนไลน์เพื่อสอบถามและปรึกษาเบื้องต้นได้ ที่ LINE @bangkok-lasik / โทรศัพท์: 02-467-1111 ต่อ 1438 หรือ 080-798-2020