สายตายาว อาการเป็นอย่างไร
"สายตายาว" อาการเป็นอย่างไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร
ใครเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “พออายุมาก สายตาก็ยาว” หรือไม่? แล้วเคยสงสัยกันไหมว่า จากที่เคยสายตาปกติ กลับกลายเป็นสายตายาวได้อย่างไร? อาการเป็นยังไง? แล้วเรามีคามเสี่ยงที่จะเป็นหรือไม่?!
อาการ "สายตายาว" ใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้กับทุกคน ขอแค่เราทำความเข้าใจ หาวิธีป้องกัน โอกาสที่จะเกิดขึ้นกับคุณก็จะน้อยลง งั้นเราไปทำความรู้จักกับสายตายาว อาการเป็นเช่นไรกันเลย
รู้จักการทำงานของสายตาปกติ ก็จะเข้าใจสายตายาว
ดวงตาของเราเหมือนกล้องถ่ายรูป ลองมาดูการเปรียบเทียบบบง่าย ๆ เพื่อจะได้ช่วยทำให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายขึ้น
- กระจกตา (Cornea) เปรียบเสมือน “หน้าเลนส์” ของกล้อง เป็นชั้นใสที่อยู่ด้านหน้าสุดของตา มีหน้าที่ช่วยให้แสงผ่านเข้ามา และเริ่มโฟกัสภาพ
- เลนส์ตา (Lens) หรือ เลนส์ตา อยู่ถัดเข้ามาข้างใน มีหน้าที่ปรับโฟกัสแสงให้ตกลงบนจุดที่เหมาะสม
- ม่านตา (Iris) ส่วนนี้คือ “ตัวควบคุมแสง” ของดวงตา มีสีที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน เช่น สีดำหรือน้ำตาล และมีรูตรงกลางที่เรียกว่า รูม่านตา (Pupil) ซึ่งคอยควบคุมปริมาณแสงที่เข้าสู่ตา
- จอประสาทตา (Retina) เปรียบได้กับ “เซนเซอร์รับภาพ” ของกล้อง อยู่ด้านหลังของตาและทำหน้าที่รับภาพที่แสงส่งมา แล้วส่งต่อข้อมูลไปยังสมองเพื่อแปลผลเป็นสิ่งที่เรามองเห็น
สำหรับคนที่มีสายตาปกตินั้น แสงที่ผ่านกระจกตาและเลนส์ตาจะถูกปรับให้ โฟกัสตรงพอดีบนจอประสาทตา ซึ่งทำให้การมองเห็นทั้งระยะใกล้และไกลชัดเจน ไม่เบลอ ไม่ต้องเพ่ง แต่ถ้าดวงตาของเราโฟกัสแสงผิดตำแหน่ง เช่น แสงไปตกที่ หน้าจอประสาทตา (เกิดสายตาสั้น) หรือ หลังจอประสาทตา (เกิดสายตายาว)
สาเหตุที่ทำให้เราสายตายาว
ภาวะ "สายตายาว" สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุทั้งปัจจัยที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด หรือ ปัจจัยที่เพิ่มมากขึ้นตามการใช้งานของดวงตาเรา
- รูปร่างของลูกตา ลูกตาที่สั้นกว่าปกติ จะส่งผลให้แสงที่ผ่านเข้าตาไปโฟกัสหลังจอประสาทตา ต่างจากคนที่สายตาปกติที่แสงจะโฟกัสพอดีบนจอประสาทตา
- กระจกตาหรือเลนส์ตาโค้งน้อยเกินไป ทำให้แสงที่เข้าตาไม่หักเหอย่างเหมาะสม ทำให้แสงเดินทางไปโฟกัสผิดตำแหน่ง
- กรรมพันธุ์ หากในครอบครัวมีสมาชิกที่มีปัญหาสายตายาว โอกาสที่เราจะได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมก็เพิ่มขึ้น นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมบางคนถึงมีสายตายาวตั้งแต่อายุยังน้อย
- อายุที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าสายตายาวแต่กำเนิดจะเกิดจากโครงสร้างลูกตา แต่เมื่ออายุมากขึ้น ความยืดหยุ่นของเลนส์ตาจะลดลงทำให้เกิด สายตายาวตามอายุ (Presbyopia)
อาการของสายตายาว
- มองใกล้: เบลอ ไม่ชัด ต้องเพ่งสายตา
- มองไกล: ชัดเจนขึ้น แต่ในบางรายที่สายตายาวมากๆ อาจมองไกลไม่ชัดเช่นกัน
นอกจากนี้สายตายาว อาการต่าง ๆ อาจส่งผลต่อชีวิตประจำวันด้วย
- อาการตาล้า (Eye Strain) เกิดจากการเพ่งสายตานานๆ ทำให้รู้สึกปวดตาหรือเหนื่อยล้าบริเวณรอบดวงตา
- ปวดหัว โดยเฉพาะบริเวณหน้าผากหรือขมับ หลังการทำงานที่ต้องใช้สายตาใกล้
- ตาพร่า บางครั้งอาจเกิดอาการตาพร่า หรือมองเห็นเหมือนภาพซ้อน
หมายเหตุ: ในบางคนที่มีสายตายาวเล็กน้อย อาการเหล่านี้จะไม่แสดงออกชัดเจนมากนัก เพราะดวงตาสามารถปรับตัวกับอาการสายตายาวได้
การป้องกันอาการสายตายาว
เริ่มต้นจากการดูแลดวงตาในชีวิตประจำวัน เช่น พักสายตาอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงการจ้องหน้าจอหรือเพ่งสายตาในระยะใกล้เกินไปเป็นเวลานาน ควรใช้กฎ 20-20-20 คือ พักสายตา 20 วินาที มองไกล 20 ฟุต ทุก 20 นาที และหยอดน้ำตาเทียมเมื่อตาแห้ง
นอกจากนี้ ควรบริโภคอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น ผักใบเขียว แครอท ปลาแซลมอน และถั่ว เพื่อเสริมสร้างสารอาหารที่จำเป็นอย่างวิตามิน A, C, E และสารต้านอนุมูลอิสระ
การแก้ไขอาการสายตายาว
สวมแว่นสายตาที่มีเลนส์นูนเป็นวิธีแก้ไขที่ปลอดภัยและสะดวก ช่วยปรับแสงให้โฟกัสตรงจอประสาทตาได้อย่างเหมาะสม หากใครที่ไม่สะดวกใส่แว่นสายตา การใช้คอนแทคเลนส์สำหรับสายตายาวก็เป็นทางเลือกที่ดี ที่สำคัญนะคะ อย่าลืมปรับพฤติกรรมการใช้สายตา เช่น หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือหรือใช้งานสายตาใกล้ในที่แสงน้อย เป็นต้น
การรักษาอาการสายตายาว
เราขอแนะนำการแก้ไขปัญหาค่าสายตาด้วยการทำเลสิค ใช้เวลาตรวจประเมินและรักษาไม่นาน พักฟื้นเร็ว ได้ประสิทธิภาพการมองเห็นที่คมชัดภายใน 1-2 วัน
LASIK SUPER Center เรามีเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย พร้อมตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาค่าสายตา ไม่ว่าจะเป็น Lasik , PresbyMax หรือ SmartSight นวัตกรรมล่าสุดสำหรับการแก้ไขสายตาด้วยความปลอดภัยสูง
- PresbyMax ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาสายตายาว สายตาสั้นและสายตาเอียงในครั้งเดียว เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่ต้องการฟื้นฟูการมองเห็นอย่างคมชัดในทุกระยะ
- สำหรับผู้ที่ต้องการการรักษาที่นุ่มนวลและลดผลข้างเคียง เช่น อาการตาแห้ง เทคโนโลยี SmartSight ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ยอดเยี่ยม โดยใช้เลเซอร์แบบไร้ใบมีดและแผลเล็ก ช่วยลดความเสี่ยงและฟื้นตัวเร็วขึ้น
สามารถเข้ามาปรึกษาเราได้ที่ โรงพยาบาลพญาไท 3, โรงพยาบาลกรุงเทพ-พัทยา, โรงพยาบาลวิภาวดี หรือ ติดต่อช่องทางออนไลน์เพื่อสอบถามและปรึกษาเบื้องต้นได้ ที่ LINE @bangkok-lasik / โทรศัพท์: 02-467-1111 ต่อ 1438 หรือ 080-798-2020